ประโยชน์ในการศึกษาภาษาไทยถิ่น
ประโยชน์ในการศึกษาภาษาไทยถิ่น
เกิดความเข้าใจในเรื่องของภาษาว่าภาษาในโลกนี้ นอกจากจะมีหลายตระกูลแล้ว ในตระกูล หนึ่ง ๆ ยังมีภาษาย่อยอีกหลายภาษา
เข้าใจความเป็นมาของภาษา และซาบซึ้งในวัฒนธรรมในการใช้ภาษาและเห็นความสำคัญของภาษาไทยถิ่นนั้น ๆ
เข้าใจในเรื่องการกลายเสียงและความหมายของคำ ในภาษาไทยถิ่นหนึ่ง อาจเห็นการใช้คำบางคำบางถิ่นฟังแล้วอาจถือว่าเป็นคำหยาบแต่ความหมายไม่ใช่อย่างที่เข้าใจ เป็นต้น
เป็นแนวทางในการเรียนรู้วิธีการ และวิเคราะห์ภาษาในระบบต่าง ๆ เช่น เสียงพยัญชนะเสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และอื่น ๆ
เป็นประโยชน์ในการสอนภาษาแก่เด็กนักเรียนที่พูดภาษาถิ่นและแก้ไขปัญหา เด็กนักเรียน ที่ออกเสียงภาษาไทยมาตรฐานไม่ชัด พร้อมนำความรู้ไปแก้ปัญหาในการเรียนการสอนภาษาไทยแก่เด็กนักเรียน
ภาษาถิ่นใต้ ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้ของประเทศไทย ลงไป ถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย รวม 14 จังหวัด เช่น ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช เป็นต้น และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาษาถิ่นใต้ ยังมีภาษาถิ่นย่อยลงไป อีก เป็นภาษาถิ่นใต้ ภาคตะวันออก เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ตรัง สตูล ภาษาถิ่นใต้ตะวันตก เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดกระบี่ พังงา ระนอง สุราษฎร์ธานีและชุมพร และภาษาถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดนราธิวาส และ ปัตตานี ในแต่ละภาคก็จะมีภาษาถิ่นใต้ เป็นภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เช่น ภาษาถิ่นระนอง ภาษาถิ่น ภูเก็ต ภาษาถิ่นพัทลุง ภาษาถิ่นสงขลา เป็นต้น ภาษาถิ่นย่อยเหล่านี้อาจจะมีเสียง และคำที่เรียกสิ่ง เดียวกันแตกต่างกันออกไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น